SEO คืออะไร? รวมสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเริ่มทำ SEO ในปี 2024

สารบัญ

SEO คืออะไร

         SEO ย่อมาจากคำว่า Search Engine Optimization คือ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ เพื่อทำให้ติดอันดับของเครื่องมือการค้นหา โดยในบริบทนี้เราจะพูดถึง Google นะครับ เพราะคนไทยเกือบนิยมใช้ Google ในการค้นหาเป็นหลัก และพฤติกรรมการใช้เครื่องมือค้นหาก็มีความน่าสนใจมากขึ้น ๆ

พฤติกรรมการใช้ Search Engine ของคนในปัจจุบัน

SEO = การตลาดแบบตั้งรับ

ความแตกต่างของ SEO และ SEM

         SEO เป็นการตลาดออนไลน์รูปแบบหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทของ Inbound Marketing หรือที่แปลตรงตัวว่า การตลาดแบบตั้งรับ เพราะหลักการทำอันดับ คือการรอให้ผู้คนค้นหาข้อมูลที่ต้องการลงใน Google แล้วจึงรอให้คลิกเข้าสู่เว็บไซต์

เราสามารถแบ่งการทำตลาดในรูปแบบนี้ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. Outbound Marketing คือ การ Push ส่งโฆษณาออกไปเพื่อให้คนจำนวนมากเห็น ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่าง SEM ของ Google , การยิง Ads ใน Facebook , IG และ tiktok เป็นต้น
  2. Inbound Marketing คือ การ Pull การตั้งรับ โดยเน้นทำ Content เพื่อดึงคนที่ค้นหาข้อมูลสินค้าเหล่านั้นเข้ามา ซึ่ง SEO คือ 1 ในการตลาดประเภทนี้ ส่วนการปิดการขายก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของขั้นตอนถัดไปนั่นเอง 

ประโยชน์ของการทำ SEO

เหตุผมที่คุณต้องทำ SEO
  1. เพิ่มการเข้าถึง และสร้างยอดขาย การทำ SEO สามารถช่วยดึงลูกค้าหน้าใหม่ มาสนใจซื้อสินค้าของคุณได้จากคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง และตรงกัน จากการค้นหาผ่าน Google Search
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา การทำ SEO ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีผู้เข้าชมได้อย่างยั่งยืนกว่าการยิง Ads ที่เมื่อเงินหมด โฆษณาก็ไม่แสดงผล
  3. เพิ่มความน่าเชื่อถือ และน่าไว้ใจ ต่อแบรนด์ และผู้คนที่แวะเวียนเข้ามา เสริมสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
  4. ความยั่งยืน SEO เสริมสร้างความยั่งยืนให้กับธูรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำสถิติการเข้าชมมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงให้กลยุทธ์ได้อย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่คุณต้องรู้ทั้งหมดของ SEO

ผมได้แบ่งหัวข้อออกเป็น 3 ข้อใหญ่ และอีก 13 หัวข้อย่อย สำหรับการปูพื้นฐานของ SEO เพื่อช่วยตอบคำถามที่ทุกท่านสงสัยเรื่อง SEO คืออะไร? เอาไว้ในบทความนี้บทความเดียว 

3 องค์ประกอบหลักของ SEO

         การทำ SEO มีหลักการที่ประกอบเข้าด้วยกันอยู่ 3 องค์ประกอบ เป็นส่วนที่ทำให้การทำ SEO นั้นสมบูรณ์ และหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ผลลัพท์ของการทำอันดับก็จะไม่เป็นไปตามที่คุณคาดหวัง และต้องคอยแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ดังนี้

On-Page SEO

 ภาพรวมของ On-Page คือการปรับแต่งองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ เพื่อการแสดงผลที่ดีต่อผู้ใช้ได้ เช่น

  • โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
  • เนื้อหาบทความ
  • การใช้ HTML Tags

Off-Page SEO

ภาพรวมของ Off-Page คือ การสร้างแรงส่งเสริมจากภายนอกเข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดนอกเว็บไซต์แล้วทั้งสิ้น หรือที่นิยมเรียกว่า Backlink เพื่อเพิ่มพลังความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์

  • Pr / Social Media
  • Branding
  • Backlink

Technical SEO

 ภาพรวมของ Technical SEO คือ การปรับปรุงทางเทคนิค เพื่อให้เว็บไซต์แสดงผล และพร้อมต่อการใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด เช่น

  • ความเร็วของเว็บไซต์
  • ความปลอดภัยของเว็บไซต์
  • รองรับการใช้งานทุกอุปกรณ์ Desktop, Mobile และ Tablet

ก่อนทำ SEO ต้องรู้อะไรบ้าง

         ก่อนเริ่มลงมือทำ SEO อยากให้เข้าใจแนวทางการทำงานของ Google Seaech ให้แม่นยำเสียก่อน เพราะเรากำลังจะทำเว็บไซต์ให้ขึ้นไปแสดงผลบนเครื่องมือค้นหาของ Google 

         Google เป็นเพียงตัวกลาง โดยหหน้าที่หลักในการทำงาน คือ ดึงเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ “คำค้นหา” ที่ผู้ค้นหากรอกเข้ามา ดังนี้

  • Keyword  คือ คำค้นหาที่นัก SEO ระบุลงไปในเว็บไซต์ เพื่อแสดงเจตจำนงต่อ Google 
  • Search Query คือ คำค้นหาที่ผู้ใช้พิมพ์ลงในช่องค้นหา เพื่อให้ Google แสดงผลลัพท์ขึ้นมา

         โดย 2 คำนี้ เรียกได้ว่ามีความหมายเดียวกัน แต่อยู่ที่บริบทของผู้ใช้ เท่ากับว่า ตัวแรกของการค้นหา และทำอันดับจะไปตกอยู่ที่ “คำค้นหา” 

5 เรื่องพื้นฐาน ก่อนลงมือทำ SEO

1. ประเภทของคำค้นหา (Keyword)

         คำค้นหา ดูเหมือนจะง่าย แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่าย เพราะข้อผิดพลาดการทำ SEO ที่เจอบ่อย ๆ มาจากการที่เจ้าของธุรกิจไม่เข้าใจพื้นฐานของ Keyword และเลือกใช้ได้ไม่ถูกต้อง เช่น

  • ในธุรกิจเกี่ยวกับการขายคอลลาเจน จึงใช้คำว่า “คอลลาเจน” เป็น Keyword ที่ระบุโฟกัสบนเว็บไซต์แต่ความจริง คือ ผู้คนส่วนใหญ่ที่ค้นหาคำว่า “คอลลาเจน” กลับต้องการเพียงข้อมูลในทำนองว่า คืออะไร? ควรกินเมื่อไหร่? เป็นต้น

2. ประเภทของการค้นหา (Search)

         การค้นหา คือ ส่วนที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องจุดประสงค์ของคำค้นหามากขึ้น เพื่อที่จะนำข้อมูลส่วนนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับการหา Keyword ที่เหมาะสม โดยในเรื่องนี้ มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  • Search Intent : จุดประสงค์ของการค้นหา
  • SERP Features : ฟีเจอร์พิเศษที่แสดงผลในหน้าค้นหา

3. การทำงานของ Google

วิธีการทำงาน เก็บข้อมูล และแสดงผล ของ Google Search

การทำงานของการจัดอันดับ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนที่ Google ใช้ในการแบ่งส่วนการทำงาน ดังนี้

3.1. Crawling

การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูล

        Google มอบหมายหน้าที่ในการเสาะหานี้ให้ Bot (โปรแกรมที่ตั้งค่าให้ทำงานซ้ำๆ) ที่มีชื่อว่า Google Bot โดยใช้หลักการเดียวกับการประสานใยของแมงมุม (Spider) แบบใยต่อใยไปเรื่อย ๆ เพราะ Bot ก็ใช้หลักการขยายต่อโดยเกาะไปตาม Link ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต 

3.2. Indexing

การรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดเก็บ

         หลังจากที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลภายในเว็บ ก็เข้าสู่กระบวนการจัดเรียงของข้อมูลเพื่อส่งต่อให้ Algorithm ประเมินผล เพื่อนำไปไปจัดอันดับต่อไป

3.3. Ranking

การจัดอันดับ และนำไปแสดงผล

         ขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำเว็บไซต์ ขึ้นมาจัดอันดับ โดยต้องผ่านด่านประเมินของ Google Algorithm ซะก่อน เท่ากับว่าการทำ SEO ให้ได้ผลลัพท์ที่ดี เราต้องเข้าใจว่า Algorithm ณ ปัจจุบัน มีเงื่อนไขการคำนวนอย่าไงไรบ้าง?

4. Google อัลกอริทึม

         Algorithm เป็นโปรแกรม Machine Learning ที่มีหน้าที่จัดอันดับให้กับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และ เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเสนอแก่ผู้ค้นหาในในหน้าแสดงผล ทั้ง 10 อันดับในหน้าแรก 

         อย่างที่เราทราบที่ว่า Google มีการค้นหาหลากหลายรูปแบบ และสามารถแสดงผลลัพท์ได้มากมาย เพราะฉะนั้น Google มี Algorithm ที่รองรับอยู่มากมาย เช่น

  • การค้นหาตำแหน่งที่ตั้ง (Local SEO) ใช้ Google Pigeon Algorithm ในการดูแล
  • การจัดการกับ Link ที่เป็นสแปม หรือคอยสร้างความน่ารำคาน ก่อกวน หรือ หลอกลวงการคลิกแก่ผู้ใช้ ก็ใช้ Link Spam Algorithm นั่นเอง

 ถึงตรงนี้ ทุกท่านน่าจะเล็งเห็นความสำคัญ และแนวทางการทำ SEO มากขึ้นแล้ว แต่ผมเชื่อว่าทุกท่านกำลังมีคำถามในหัวว่า เราจำเป็นต้องรู้จัก Algorithm ทุกตัวเลยหรอ? .. ก็ต้องตอบว่าใช่ครับ เพราะต้นทาง จน สุดทาง ของการตัดสินการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google เองล้วนแล้วเป็นการถอดรรกะออกมาจาก Google Algorithm ทั้งนั้น 

         นับตั้งแต่อดีต จากวันที่ Google ปล่อยอัลกอริทึมตัวแรกที่มีชื่อว่า Florida Update ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน 2023 มีไปแล้วกว่า 25 Algorithm และแบ่งเป็นการอัพเดทแบบยิบย่อยได้อย่างนับครั้งไม่ถ้วน 

         จึงเป็นที่มาของการค้นหาต่อว่า แล้วปัจจัยอะไรบ้างล่ะ ที่ยังส่งผลต่อการทำอันดับได้จนถึงปัจจุบัน และปัจจัยที่อัพเดทใหม่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้สามารถแตกย่อยประเด็นออกมาเป็น Ranking factors ตามหัวข้อที่ 5 เลย

5. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำอันดับ

(SEO Ranking Factors)

         Ranking Factors คือ ปัจจัยที่ทำแล้ว มีผลต่อการทำอันดับ SEO Google ที่เป็นการแตกประเด็นออกมาจากข้อมูลของ Algorithm ทั้งในอดีตที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 200 ปัจจัย ซึ่งจับกลุ่มได้เป็น 6 หัวข้อ ดังนี้

แน่นอนว่า Google ยังคงอัพเดทอัลกอริทึมใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยสามารถอ้างอิงได้จากพฤติกรรมของผู้คน และกระแสของโลก ได้ดั่งตัวอย่าง

  • ผู้คนนิยมการแชร์ข้อมูลลง Social Media ส่งผลให้ => เว็บไซต์ที่มียอดแชร์เยอะ มีผลต่อการจัดอันดับที่ดีขึ้น
  • ผู้คนเลือกคลิกเว็บไซต์ของคุณ ที่อยู่อันดับที่ 3 มากกว่าอันดับ 1 => Google ปรับอันดับให้คุณสูงขึ้น
  • เว็บไซต์ขายเครื่องกรองน้ำ แต่มีบทความเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำ 1 บท => ไม่สามารถเล็งเห็นถึงความเชี่ยวชาญ และน่าเชื่อถือ ไม่ได้รับการจัดอันดับ

         เป็นต้น

วิธีทำ SEO มีอะไรบ้าง

(SEO Process)

         ในฝั่งการทำงานของนัก SEO สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งในทุกขั้นตอนจะเกี่ยวข้องกับทุกหัวข้อด้านบนเลยครับ ดังนี้

1. Keyword Research

         การวิเคราะห์คำค้นหา คือ กระบวนการที่ช่วยให้คุณรู้ได้ว่าธุรกิจของคุณสามารถปิดยอดขายได้จาก Keyword อะไร? โดยพื้นฐานของการวิเคราะห์คำค้นหา อาศัยความรู้จาก 3 พื้นฐาน ดังนี้ 

  1. คำค้นหา (Keyword)
  2. จุดประสงค์การค้นหา (Search Intent)
  3. ลักษณะการแสดงผลลัพท์ (SERP Feature)

4 ปัจจัย ช่วยในการวิเคราะห์คำค้นหา ให้แม่นยำ

         ปัจจัยเสริม คือ ปัจจัยที่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาคำค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยอาศัย 4 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้

  1. Search Volume : ปริมาณการค้นหาของคำนั้น ๆ ในแต่ละเดือน
  2. Keyword Difficulty : ความยากของการทำอันดับ
  3. Keyword Competition : จำนวนเว็บไซต์ที่กำลังแข่งขันทำอันดับของคำค้นหานั้น ๆ 
  4. Keyword Trend : เทรนด์ของคำค้นหาไปในทิศทางใด กำลังตก หรือ กำลังขึ้น

ทำไมต้องวิเคราะห์คำค้นหา

         เพราะผลลัพท์ที่ได้จากการวิเคราะห์คำค้นหา สามารถนำไปต่อยอดในการทำ SEO ได้อีกหลายกระบวนการ ซึ่งเรียกได้ว่า “ไม่ทำ ไม่ได้” และนี้คือ ตัวอย่างการนำ Keyword ไปทำงานต่อในด้านอื่น ๆ เช่น

  • นำไปวางโครงสร้างเว็บไซต์
  • นำ Keyword ไประบุเป้าหมายการทำอันดับให้กับหน้าต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ 
  • นำไปวางแผนการทำบทความ SEO
  • นำไปวิเคราะห์การแข่งขัน และประเมินคู่แข่ง
  • นำไปสร้าง Backlink ที่มีคุณภาพ

2. Content Optimization

         การเพิ่มประสิทธิภาพคอนเทนต์ SEO ใช้พื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของ On-Page SEO เพราะเป็นส่วนที่ต้องแสดงผลให้กับผู้คนเข้ามาอ่าน โดยในส่วนของการเพิ่มประสิทธิภาพให้บทความทั่วไป แตกต่างกับ บทความ SEO ได้ ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ทั้ง 5 ข้อ ดังนี้

  1. Site Title : ชื่อหัวข้อของบทความ
  2. Meta Description : คำอธิบายอย่างย่อของบทความ (ขยาย Site Title)
  3. Heading Tags : ช่วยกำหนดหัวข้อย่อยต่าง ๆ ภายในบทความ โดยมีตั้งแต่ H1 – H6
  4. Internal Link : การสร้างความเชื่อมโยงของลิ้งค์ ที่เกี่ยวข้องไปยังบทความอื่น ๆ ภายในเว็บไซต์
  5. Image Alt Text : คำอธิบายของรูปภาพประกอบ

2 ปัจจัย เสริมคุณภาพบทความ ตามที่ Google ต้องการ

         เรียกว่าปัจจัยที่กำลังจะกล่าวถึง เป็นต้นแบบของการทำ SEO Content ที่ดี ในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ครับ ดังนี้

  1. E-E-A-T : เป็นหลักการที่ช่วยควบคุมการสร้างบทความให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  2. Keyword Density : เป็นการกระจายคำค้นหาในหน้าบทความ โดยเป็นการกระจายคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยตอบคำถามผู้อ่านได้อย่างครบถ้วน สามารถผสมเนื้อหาเหล่านั้น อยู่ในย่อหน้าต่าง ๆ หรือตั้งเป็นประโนคคำถามใน H2-H6 ได้เช่นกัน

ทำไมต้องทำบทความ SEO

         Google ทำความเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อจาก Keyword ที่เราระบุลงไปในส่วนของปัจจัยทั้ง 5 ข้อด้านบนก็จริง แต่ส่วนที่คอยสนับสนุนอยู่ไม่ห่าง ก็คือ เนื้อหาบทความนั้นเอง หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ จะไม่สมบูรณเลยหากปราศจากเนื้อหาบทความ

         อย่างที่ใครหลายคนทราบเลยครับว่า บทความถือเป็นตัวขับเคลื่อนการทำ SEO ชั้นยอด ก็เพราะ…

  • ด้วยช้อจำกัดของการทำอันดับให้ในแต่ละหน้า สามารถระบุ Focus keyword ได้ตั้งแต่ 1-3 คำเท่านั้น
  • หากคุณมี Keyword ที่สามารถช่วยดึงกลุ่มคนที่กำลังสนใจเกี่ยวกับสินค้า/บริการของคุณ ถึง 100 Keyword ล่ะ
  • แน่นอนว่า คุณจำเป็นต้องสร้างหน้าอย่างน้อย ๆ 30 หน้าหลัก และยังไม่รวมบทความเสริมอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำ SEO ในขั้นตอนอื่น ๆ 

3. Competitor Analysis

         การวิเคราะห์คู่แข่ง คือ การประเมินความยากง่ายของการทำอันดับใน Keyword ที่เราต้องการให้ไปเบียดกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ หลายท่านที่ทำ SEO แล้วไม่ประสบความสำเร็จส่วนใหญา มองข้ามข้อนี้ไป 

         ต้องบอกอย่างนี้ครับว่า การทำอันดับเพื่อไปติดในตำแหน่ง Top5 ของคำค้นหานั้น ๆ คือการที่คุณต้องเอาชนะคู่แข่งจำนวน 95 เว็บไซต์ ที่อยู่มาก่อนคุณ หรือหากมองเพียงแค่หน้าแรก อย่างน้อย ๆ คุณก็ต้องเอาชนะคู่แข่ง 5 เว็บเพื่อไปติดอันดับที่ 5 

         แล้วถ้าทั้ง 10 อันดับในหน้าแรก ล้วนแล้วแต่ทำ SEO ด้วยกันทั้งนั้น เราจะทำอย่างไรให้เราติดอันดับได้เช่นกัน สิ่งนี้แหละครับ ที่เรียกว่า การวิเคราะห์คู่แข่ง และการแข่งขัน

7 ปัจจัย ช่วยประเมินการทำ SEO ของคู่แข่ง

         การวิเคราะห์คู่แข่ง จำเป็นต้องใช้หลักการของการทำ SEO 3 องค์ประกอบ และอาศัยค่าวัดผลอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่ง มีดังนี้

  1. On-Page SEO : การหาข้อด้อยของเว็บคู่แข่งผ่านการตรวจสอบตามหลัก On-Page ที่ถูกต้อง
  2. Off-Page SEO : การหาข้อด้อยของเว็บคู่แข่งผ่านการตรวจสอบตามหลัก Off-Page ที่ถูกต้อง
  3. Technical SEO : การหาข้อด้อยของเว็บคู่แข่งผ่านการตรวจสอบตามหลัก Technical ที่ถูกต้อง
  4. DA/DR : การประเมินผลจากค่าชี้วัดคุณภาพของโดเมน
  5. Backlinks : การสำรวจคุณภาพ Backlinks ของเว็บไซต์คู่แข่ง 
  6. Keywords Ranking : การตรวจ Keyword ที่คู่แข่งทำติดอันดับ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาเหตุผลของการติดอันดับได้
  7. Trends : ประเมินแนวโน้มการพัฒนาเว็บไซต์ของคู่แข่งในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ข้อด้อยเพื่อเอาชนะ

4. Link Building

         การสร้างลิ้งค์ คือ การสร้างลิ้งค์จากเว็บไซต์ภายนอก เพื่อให้ส่งย้อนกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และส่งคุณค่าให้ Google เชื่อมั่นในเว็บไซต์ของเรา ส่วนนี้อาจเป็นเรื่องที่เข้าใจยากนิดนึงครับ แต่จะขออธิบายโดยการเปรียบเทียบกับการทำงานในความเป็นจริง 

         สมมุตินะครับ ผมเป็นคนที่น่าเชื่อถือในมุมมองของคุณ และผมก็ได้แนะนำคนที่จะช่วยให้งานคุณพัฒนาได้ดีขึ้น คุณจะเชื่อผมไหม? แน่นอนว่าคุณก็เชื่อผมเกิน 80% และผลลัพท์ของการทำ Backlinks ก็จะส่งต่อความน่าเชื่อถือโดยตรง “ยิ่งเว็บไซต์ของเราได้รับการอ้างอิงเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ เว็บไซต์ของเรายิ่งได้รับคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น

3 ขั้นตอนการทำ Backlink

  1. ผลิตบทความคุณภาพ แล้วทำอันดับ เพื่อให้มีคนเข้ามาอ่านเยอะ ๆ หากมีคนเข้ามาอ่านแล้วชอบ ก็จะนำบทความของเราไปอ้างอิง ขอบคุณแหล่งที่มาของเนื้อหานั้น ๆ ภายใต้เว็บของเขาได้
  2. ทำข่าวประชาสัมพันธ์ หรือ แชร์ลงสื่อโซเชี่ยลมีเดีย ก็เป็นอีก 1 วิธีที่ยังคงเป็นที่นิยม ที่สำคัญคือฟรี (แต่ต้องเป็นแหล่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ต้นทางของเรานะครับ)
  3. ซื้อจากเว็บที่รับทำ Backlink ปัจจุบันก็มีหลายเว็บที่ออกมาให้บริการเกี่ยวกับการทำ backlink โดยตรง แต่ส่วนนี้ต้องตรวจสอบให้ดี ๆ นะครับ เพราะบางค่าอย่าง DA , DR , จำนวน Backlinks , จำนวน Traffic สามารถเสกตัวเลขขึ้นมาได้แล้ว

ความเสี่ยงของการได้รับ Backlink ที่ไม่มีคุณภาพ

         โดยความเสี่ยงของการทำ backlink ไม่เพียงเฉพาะรูปแบบที่ซื้อ เพราะรูปแบบลงฟรีตามช่องทางต่าง ๆ ก็ต้องประเมินคุณภาพเว็บไซต์ต้นทางก่อนทุกครั้ง

         เพราะหากไม่ได้สำรวจให้ชัดเจน ผลกรรมจะตกมาอยู่ที่เว็บไซต์ของคุณไม่ช้าก็เร็ว เพราะ Google กำลังสนใจเรื่อง Spam Link เป็นพิเศษ ก็คือการได้รับ Backlink จากเว็บที่ไม่มีคุณภาพ โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ เว็บไซต์ของคุณจะถูกลดคุณค่าลง ส่งผลให้ => อันดับเว็บลดลง คำค้นหาหายไปจากหน้าค้นหา เป็นต้น

ความรู้ SEO ที่เกี่ยวข้อง

Search Volume หรือ ปริมาณการค้นหามีความสำคัญมาก ๆ ในการทำ SEO
โปรแกรมฟรี ที่พัฒนาโดย Google สามารถวัดผลการทำ SEO ได้ดี
Open Graph ช่วยให้การแชร์ข้อมูลบน Social Media ถูกต้อง