Keyword ทำความรู้จัก “คำค้นหา” ก่อนทำ SEO เพราะสำคัญมากกก

สารบัญ

Keyword คืออะไร

Keyword สามารถถูกเรียกได้หลากหลาย เช่น คำค้นหา หรือ คำหลัก เป็นต้น

Keyword มีความสำคัญต่อ SEO (Search Engine Optimization) เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ Google ใช้เพื่อจัดอันดับให้กับเว็บไซต์ 

เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้ หรือ ผู้ค้นหา ก็จะมีโอกาสติดอันดับ SEO ได้มากกว่าเว็บไซต์ที่มี เนื้อหาไม่ตรงกับคำค้นหา 

หากต้องการให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาบน Google สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือการเลือกใช้คำค้นหาให้เหมาะสม ตลอดจนการปรับแต่งเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณให้สอดคล้องกับคำค้นหาเหล่านั้น

ความแตกต่างของ Keyword และ Search Term

Keyword

Keyword คือ คำที่นักการตลาดใช้เป็นตัวกำหนดเป้าหมายในการทำอันดับให้กับเว็บไซต์ เพื่อให้มีผู้ค้นหาเจอ

Search Terms

Search Terms หรือ Search Queries เป็นคำที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปในช่องค้นหา

สรุป

  • Keyword คือ คำที่เจ้าของเว็บไซต์ใช้ในการทำอันดับ
  • Search Terms คือ คำที่ผู้ค้นหากรอกลงในช่องค้นหา
  • Google Search มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำให้ “เว็บไซต์ และ ผู้ค้นหา” มาเจอกันในหน้าแสดงผล (SERPs) โดยอาศัยคำค้นหาที่ตรงกัน และ มีจุดประสงค์ตรงกัน (Intent)
  • เพราะฉะนั้น เราต้องทราบว่าผู้ค้นหา/ผู้ใช้ ค้นหาคำว่าอะไรบ้าง? เพื่อจุดประสงค์อะไร? ในธุรกิจที่เรากำลังทำ

Keyword มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ยกตัวอย่าง จากธุรกิจ "ทัวร์เที่ยวกระบี่"

1. ประเภทของ Keyword เพื่อกำหนดลักษณะ

Seed Keywords

เมล็ดพันธ์ของคำค้นหา : โดยมากมักจะเป็นคำค้นหาทั่วไปที่มีความหมายกว้าง ๆ นิยมใช้เป็นจุดตั้งต้นในการวิเคราะห์คำค้นหา เพื่อเห็นภาพรวมทั้งหมด

ยกตัวอย่าง : “กระบี่” 

Short Keywords

คำค้นหาแบบสั้น ๆ : คนใช้ค้นหาข้อมูลทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต โดย Short Keywords มักมีปริมาณการค้นหาสูง แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการแข่งขันที่สูงมากเช่นกัน

ยกตัวอย่าง : “ทัวร์กระบี่” , “ที่พักกระบี่” , “ทะเลกระบี่” 

Medium Keywords

คำค้นหาระดับกลาง : มีความยาวกว่า Short Keywords เพียงเล็กน้อย แต่ไม่ยาวเท่ากับ Long-tail Keyword ซึ่งคำค้นหาประเภทนี้ มีปริมาณการค้นหาต่ำกว่า Short Keyword มีความเฉพาะเจาะจงขึ้น

ยกตัวอย่าง : “แพ็คเกจทัวร์กระบี่” , “เที่ยวทะเลกระบี่”

Long-Tail Keywords

คำค้นหาที่มีความยาว และเจาะจง : โดยมักจะมีปริมาณการค้นหาต่ำกว่าคำค้นหาประเภทอื่น ๆ  และการแข่งขันมีโอกาสต่ำกว่า คู่แข่งน้อยกว่า (ไม่เสมอไป) แต่.. มีโอกาสปิดการขายได้มากกว่า เพราะด้วยความเฉพาะเจาะจงของผู้ใช้ แสดงเจตจำนงลงในคำค้นหาเรียบร้อยแล้ว

ยกตัวอย่าง : “เช่ารถยนต์กระบี่ ที่ไหนดี” , “โรงแรมในเมืองกระบี่ ใกล้ถนนคนเดิน ราคาถูก”

สรุป

  • Seed Keywords ถือเป็นคำค้นหากว้าง ๆ ที่นิยมใช้ในการตั้งต้นการหาคำอื่น ๆ
  • Short และ Medium Keywords เป็นคำค้นหาที่นิยมใช้ในหน้าเพจหลัก ๆ ของเว็บไซต์

2. ประเภทของ Keyword เพื่อระบุเป้าหมาย

Branded Keywords

คำค้นหาที่ใช้ชื่อแบรนด์ : เป็นการระบุชื่อแบรนด์บนเว็บไซต์ เ็นการสร้างแบรนด์ทางหนึ่ง เป็นคำค้นหาที่มีค่าสูง เพราะหากคุณทำการตลาดไปจำนวนเยอะมาก แต่ผู้ค้นหาที่อยากเป็นลูกค้าคุณ ค้นหาคุณไม่เจอใน Google ก็มีโอกาสที่คุณจะเสียลูกค้าไป

ยกตัวอย่าง : “Krabi Travel Guide” 

Product Keywords

คำค้นหาที่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เฉพาะ : ซึ่งจะมีความคล้ายกับ Branded Keywords แต่จะเฉพาะเจาะจงมากกว่า หรือเป็นคำที่มีอยู่แล้ว ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ยกตัวอย่าง : “ทัวร์กระบี่ 3 วัน 2 คืน” , “ทัวร์ 4 เกาะ”

Evergreen keywords

คำค้นหาที่มีผู้ค้นหาตลอด : หมายความว่าถ้าคุณทำคอนเทนต์ โดยมีคำค้นหาหลักเป็นคำประเภท Evergreen คอนเทนต์ของคุณก็ยังคงอ่านได้ความหมายเช่นเดิม แม้เวลาจะผ่านไปอีก 5 ปี ข้างหน้าก็ตาม

ยกตัวอย่าง : “ประวัติเขาขนาบน้ำ” , “วัตถุโบราณในกระบี่”

Seasonal Keywords

คำค้นหาตามฤดู หรือ เทศกาล  : หรือมีชื่อแบรนด์ของคุณอยู่ในนั้น เช่น Onemarketmaker ดังนั้น Branded Keyword จึงเป็นคีย์เวิร์ดหลักที่มีค่าสูง เนื่องจากผู้คนที่ค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณนั้น แสดงว่าพวกเขามีความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณอยู่แล้ว 

ยกตัวอย่าง : “อ่าวมาหยา” , “กินเจ กระบี่”

Geo Targeting keywords

คำค้นหาที่เจาะจงสถานที่ตั้ง : เป็นคำค้นหาที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผลดีมาก ๆ เพราะผู้ค้นหาให้ความสนใจเป็นทุนเดิม

ยกตัวอย่าง : “โรงแรมอ่าวนาง ติดทะเล” , “ร้านอาหารญี่ปุ่น กระบี่”

Trending Keywords

คำค้นหาตามกระแส  : เป็นคำค้นหาที่อ้างอิงกับกระแสในปัจจุบัน นิยมทำคอนเทนต์ในรูปแบบข่าว 

ยกตัวอย่าง : “ตั่วเครื่องบินไปกระบี่ช่วงปีใหม่แพงมาก”

สรุป

  • Evergreen Keywords เป็นคำค้นหาที่เว็บไซต์ที่มุ่งการทำ SEO ส่วนใหญ่เลือกใช้ เพราะสามารถดึงผู้เข้าชมได้ตลอด
  • Product Keywords มีความใกล้เคียงกับ Long-Tail Keyword ในแง่ของจุดประสงค์การค้นหา
  • Branded keywords เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีบนหน้าเว็บไซต์ โดยเฉพาะหน้า Homepage

3. ประเภทของ Keyword เพื่อใช้ในขั้นตอนการทำงาน

Focus keyword

คำค้นหาที่ต้องการทำให้ติดอันดับ : โดยประกอบด้วย คำค้นหาหลัก (Primary keywords) และ คำค้นหารอง (Secondary keywords)

ความแตกต่างของคำค้นหาหลัก และรอง คือ การให้ค่าความสำคัญ

คำค้นหาหลัก = ต้องการให้ติดอันดับ
คำค้นหารอง = ต้องการให้ติดอันดับเช่นกัน แต่น้อยกว่าคำค้นหาหลัก

Main Keyword / Primary keywords

คำค้นหาหลัก  : เป็นคำค้นหาที่อ้างอิงกับกระแสในปัจจุบัน นิยมทำคอนเทนต์ในรูปแบบข่าว 

ยกตัวอย่าง : หน้าเว็บไซต์ที่รวมโปรแกรมทัวร์กระบี่ที่หลากหลาย  ต้องการให้ผู้ใช้ค้นหาเจอจากคำว่า “แพ็คเกจทัวร์กระบี่” 

Secondary keywords

คำค้นหารอง  : มีหน้าที่ในการทำอันดับได้ใกล้เคียงคำค้นหาหลัก แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยขยายความคำค้นหาหลัก

ยกตัวอย่าง : “แพ็คเกจทัวร์กระบี่ ราคาถูก” , “แพ็คเกจทัวร์กระบี่ 2567”

สรุป

  • Focus Keywords เป็นคำที่ใช้แสดงความตั้งใจ กำหนดเป้าหมายให้แก่การทำอันดับ
  • ทุกหน้าควรมี Primary และ Secondary Keyword ไปด้วยกันเสมอ
  • การวิเคราะห์คำค้นหา หรือในทาง SEO เรียกว่า การทำ Keyword Research จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ก่อนลงมือปรับปรุงเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์

4. ประเภทของ Keyword เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO

LSI keywords

คำที่มีความหมายเดียวกัน  : LSI ย่อมาจาก Latent Semantic Indexing ในภาษาไทยเรียกว่าคำที่มีความพ้องความกัน 

ยกตัวอย่าง : “คน กับ มนุษย์” 

Related Keywords

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : เป็นคำที่เกี่ยวข้องตรง ๆ นิยมใช้กำหนดเป็นคำค้นหารอง (Secondary Keywords)

ยกตัวอย่าง :

คำค้นหาหลัก = “ทัวร์กระบี่”
คำค้นหารอง (1)= “ทัวร์กระบี่ 1 วัน”
คำค้นหารอง (2)= “ทัวร์กระบี่ 2 วัน 1 คืน”
คำค้นหารอง (3)= “ทัวร์กระบี่ ครึ่งวันบ่าย”
คำค้นหารอง (4)= “ทัวร์กระบี่ 3 วัน 2 คืน”

เป็นต้น

Keyword ideas

ไอเดียของคำค้นหา : เป็นแนวทางในการสร้างเนื้อหาเฉพาะ โดยการใช้ Seed Keywords

ยกตัวอย่าง : “กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” 

สรุป

  • การมีคำค้นหาประเภท LSI ในเนื้อหาบทความ ทำให้ Google รู้ได้ว่า เราใช้มนุษย์ในการเขียนบทความ มีบริบทที่เฉพาะ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น
  • ในตัวอย่างของ Related Keywords​ ในส่วนของคำค้นหารอง สามารถนำ Keyword ในรูปแบบต่าง ๆ ข้างต้นมาผสมได้

5. ประเภทของ Keyword เพื่อบอกจุดประสงค์ของการค้นหา

Navigational keywords

คำค้นหาแบบเจาะจงเป้าหมาย :  เป็นคำค้นหาที่แสดงจุดประสงค์อย่างชัดเจน เจาะจงเป้าหมายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ 

ยกตัวอย่าง : “จองโรงแรมกระบี่ Agoda”

Informational keywords

คำค้นหาแบบข้อมูล :  เป็นคำค้นหาที่แสดงจุดประสงค์ เพื่อต้องการทราบข้อมูลของคำนั้น ๆ เช่น คืออะไร, ที่ไหน, เมื่อไหร่ และ อย่างไร เป็นต้น

ยกตัวอย่าง : “เรือหางยาว คืออะไร”

Commercial keywords

คำค้นหาเชิงพาณิชย์ :  เป็นคำค้นหาที่แสดงจุดประสงค์ความต้องการซื้อ แต่ยังไม่ได้พร้อมซื้อ คำค้นหาประเภทนี้ คือคำที่จะช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น รีวิว, ยอดนิยม, ดีที่สุด และ การเปรียบเทียบ เป็นต้น

ยกตัวอย่าง : “เที่ยวกระบี่ pantip” , “คาเฟ่กระบี่”

Transactional keywords

คำค้นหาเพื่อทำธุรกรรม :  เป็นคำค้นหาที่แสดงจุดประสงค์อย่างชัดเจนในการเจาะจงเพื่อทำธุรกรรม เช่น ซื้อ, เช่า และ จอง เป็นต้น

ยกตัวอย่าง : “เช่ารถยนต์กระบี่” , “จองทัวร์กระบี่”

สรุป

  • หากอยากทราบว่า คำค้นหา แต่ละคำมีจุดประสงค์เพื่ออะไร ให้ศึกษาเรื่อง Search Intent เพิ่มเติม : คลิก
  • ในอดีตเจ้าของเว็บไซต์ โฟกัสการทำเฉพาะ Transactional keywords เพราะปิดการขายได้ง่ายที่สุด
  • ในปัจจุบัน ทุกจุดประสงค์มีความสำคัญต่อการทำ SEO เพราะส่งผลต่อหลัก E-E-A-T ได้อย่างมาก : คลิก

สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Long-tail Keyword

ดูรูปภาพประกอบนะครับ อัตราการเพิ่มคนเข้าเว็บกว่า 70% ของจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์เข้าจากคำค้นหาประเภท Long-tail Keyword และมากกว่านั้นโอกาสการปิดการขาย หรือที่เรียกว่าค่า Conversion Rate ก็มาจาก Keyword ประเภทนี้เช่นกันครับ

สรุปใจความสำคัญ 

  • Long-Tail Keyword คือคำค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง หากเราทราบว่าธุรกิจของเราควรใช้คำใด โอกาสที่คุณจะได้ลูกค้าที่ตรงเป้าหมายสูงมาก และปิดการขายได้ง่ายกว่าคำที่บ่งบอกแบบกว้าง ๆ
  • แต่ไม่ได้หมายความว่า คำค้นหาแบบกว้าง ๆ จะไม่สามารถจะปิดการขายได้ และไม่สำคัญต่อการทำ SEO
  • ทุกประเภทของคำค้นหา ล้วนมีความสำคัญต่อการทำ SEO ในภาพรวม เพราะ Google สนใจเว็บไซต์ที่รู้จริง แสดงความเชี่ยวชาญ
  • Google สนใจการสร้างแบรนด์ เพราะบ่งบอกได้ถึงการพัฒนาของธุรกิจของคุณ

3 ปัจจัยในการเลือกใช้ Keyword

1. ปริมาณการค้นหา (Search Volume)

จำนวนครั้งของคีย์เวิร์ดที่ถูกค้นหาในแต่ละเดือน ยิ่งคีย์เวิร์ดนั้นมีปริมาณการค้นหาสูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสปรากฏในผลการค้นหามากเท่านั้น

2. ปริมาณของคู่แข่ง (Competitors)

การแข่งขันระหว่างเว็บไซต์ของคุณกับคู่แข่งที่ถูกจัดอันดับด้วยคีย์เวิร์ดเดียวกัน ยิ่งการแข่งขันในตลาดสูงเท่าไหร่ โอกาสที่เว็บไซต์ของคุณจะปรากฏในอันดับ Google ที่สูง ก็ยิ่งยากขึ้น

3. ตรงจุดประสงค์ของการค้นหา (Search Intent)

คีย์เวิร์ดหลักควรมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ เพราะจะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสปรากฏในผลการค้นหาหน้า Google ได้ถูกต้อง และสอดคล้องกับเว็บไซต์ของคุณที่สุด

ความสำคัญของ Keyword ในการทำ SEO

Keyword มีความสำคัญในการทำ SEO มาก เนื่องจากคีย์เวิร์ดเป็นคำค้นหาที่ผู้คนใช้เพื่อค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ถ้าคุณเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมกับเนื้อหาของเว็บไซต์ คุณจะสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงกับคีย์เวิร์ดเหล่านั้นได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เว็บไซต์ของคุณจะมีโอกาสปรากฏในผลการค้นหาของ Google SERPs มากขึ้น

สรุปใจความสำคัญ 

  • ถ้าเราระบุ Keyword ไม่ตรงกับคำที่ผู้ค้นหากรอกในช่องค้นหา ก็มีโอกาสน้อยมาก ๆ ที่จะได้รับการจัดอันดับ
  • มากไปกว่าการรู้ว่าคำใดบ้าง ที่มีผู้ค้นหาจริง ต้องรู้ด้วยว่าจุดประสงค์ที่เข้าค้นหา คืออะไร?
  • ศึกษาประเภทของ Keyword ให้เยอะที่สุด จะได้รู้ว่า คำค้นหาประเภทใด เหมาะแก่การขาย หรือ ให้ข้อมูล
  • ความผิดพลาดส่วนใหญ่ที่ผมเจอ คือ เจ้าของเว็บไซต์ ไม่รู้ว่าควรระบุคำใดลงบนเว็บ, ไม่รู้ว่าควรระบุส่วนใดของเว็บ และ ไม่รู้ว่าคำที่กำลังโฟกัสอยู่ ทำผิดจุดประสงค์

ความรู้ SEO ที่เกี่ยวข้อง

Search Volume หรือ ปริมาณการค้นหามีความสำคัญมาก ๆ ในการทำ SEO
โปรแกรมฟรี ที่พัฒนาโดย Google สามารถวัดผลการทำ SEO ได้ดี
Open Graph ช่วยให้การแชร์ข้อมูลบน Social Media ถูกต้อง