Heading คืออะไร ?
Heading คือ หัวข้อเรื่อง ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของบทความ โดยมีหลายหัวข้อเรียงกันตามลำดับความสำคัญ หรือลำดับในการอธิบาย หัวข้อเรื่องภายในแต่ละลำดับเหล่านี้เอง คือ โครงสร้างของบทความ เพราะหากปราศจากหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นการอธิบายประเด็นที่เป็นองค์ประกอบซึ่งช่วยสนับสนุนหัวเรื่องใหญ่ เรียงลำดับกันลงมา บทความนั้น ๆ จะดูไม่สมบูรณ์ทันที และจะส่งผลต่อการอ่านเพื่อจับใจความของผู้เข้ามาอ่านอย่างแน่นอน ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจเนื้อหา
Heading ลำดับที่ 1 – 6 ใช้อย่างไร
ในโครงสร้างของบทความ หัวข้อเรื่อง ลำดับที่ 1- 6 หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า H1-H6 เป็นแท็ก HTML ที่ใช้กำหนดลำดับชั้นภายในของเนื้อหาของเว็บเพจ หรือ บทความนั้น ๆ โดยมีลักษณะการใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ก็คือ H1 ทำหน้าที่ขยายความให้กับ H2 หรือ H3 ทำหน้าที่ขยายความให้กับ H2 เป็นต้น
เทคนิคการวาง Heading ลำดับที่ 1-6
ไม่ว่าจะเป็นจากประสบการณ์ผมเอง หรือ นักเขียนหลาย ๆ ท่าน ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การจะเขียนบทความแล้วให้มี หัวข้อเรื่องภายในบทความนั้น ๆ ไปจนถึง H5 และ H6 เป็นเรื่องที่ยาก และ เกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ
อย่างไรก็ดี อย่างน้อยก็ควรมี H1 – H3 ก็นับว่าเพียงพอแล้วล่ะครับ
ตัวอย่างการวาง Heading
ความสำคัญของ Heading โดยละเอียด
- H1 : โดยทั่วไปจะใช้แท็ก H1 สำหรับชื่อหลัก (Site Title) ของบทความหรือหน้าเว็บ ควรเป็นหัวเรื่องที่ใหญ่ที่สุดและโดดเด่นที่สุดในหน้า และควรเชื่อมโยงไปถึงหัวข้อหลัก (Keyword) ได้ด้วย
- H2 : โดยทั่วไป แท็ก H2 ใช้สำหรับหัวเรื่องย่อย ที่ทำหน้าที่แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็นส่วนใหม่ หรือ หัวข้อใหม่ และ H2 ควรมีขนาดเล็กกว่าหัวเรื่อง H1
- H3 – H6 : แน่นอนว่าลำดับของตัวเลขมีผลต่อเนื้อหา ยิ่งต้องการสร้างบทความที่ลงเนื้อหาเชิงลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจำนวนของหัวเรื่องยิ่งต้องมาก
สรุปเรื่องการใช้ H1-H6 ในบทความ
การใช้หัวเรื่องอย่างสม่ำเสมอ และ เหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน และโครงสร้างของเนื้อหาได้ ทำให้ผู้ใช้เข้าใจเนื้อเรื่องที่ต้องการนำเสนอได้ดี นอกจากนี้ เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ใช้ Heading นำทางเพื่อให้เข้าใจโครงสร้าง และ ลำดับชั้นของเนื้อหาในหน้านั้น ๆ ของเว็บไซต์คุณ แน่นอนว่า สิ่งนี้เป็น อีก 1 ปัจจัย ที่มีผลต่อการทำ On – Page SEO ดันหน้าเพจของคุณไปอยู่ในหน้าแรกของ Google